Conductivity/TDS Meter

เครื่องวัดค่าการนำไฟฟ้า/เครื่องวัดตะกอน Conductivity/TDS Meter
เครื่องวัดค่าการนำไฟฟ้า เครื่องวัดความนำไฟฟ้า Conductivity Meter เครื่อง วัดค่าการนำไฟฟ้า, เครื่องวัดความนำไฟฟ้า, Conductivity Meter, เครื่องวัดค่าการนำไฟฟ้า, เครื่องวัดความนำไฟฟ้า, Conductivity Meter,เครื่องวัดค่าการนำไฟฟ้า, เครื่องวัดความนำไฟฟ้า, Conductivity Meter,เครื่องวัดค่าการนำไฟฟ้า, เครื่องวัดความนำไฟฟ้า, Conductivity Meter,เครื่องวัดค่าการนำไฟฟ้า, เครื่องวัดความนำไฟฟ้า, Conductivity Meter,เครื่องวัดค่าการนำไฟฟ้า

Conductivity หรือ การนำไฟฟ้า เป็น วิธีวัดความสามารถของน้ำในการส่งผ่านกระแสไฟฟ้าซึ่งเกิดจากมีอยู่ของสาร ประกอบอนินทรีย์ที่ละลายอยู่ในน้ำ เช่น แอนไอออนของคลอไรด์ไนเตรต ซัลเฟต และฟอสเฟต (แอนไอออนคือไอออนที่มีประจุลบ) หรือ แคทไอออนของโซเดียมแมกนีเซียม เหล็ก และอะลูมิเนียม (แคทไอออนคือไอออนที่มีประจุบวก)
สารประกอบอินทรีย์ เช่น น้ำมัน ฟีนอล แอลกอฮอล์ และน้ำตาล นำไฟฟ้าได้ไม่ดีนักและมีค่าการนำไฟฟ้าต่ำกว่าเมื่อละลายอยู่ในน้ำ การนำไฟฟ้ายังขึ้นอยู่กับอุณหภูมิอีกด้วยถ้าอุณหภูมิสูงค่าการนำไฟฟ้าก็จะ ยิ่งมากขึ้น ด้วยเหตุผลเหล่านี้เองจึงรายงานค่าการนำไฟฟ้าที่อุณหภูมิ25 องศาเซลเซียส(25 C)
นอกจากนี้การนำไฟฟ้าในแหล่งน้ำนั้นยังได้รับผลกระทบโดยตรงจากลักษณะทางธรณี วิทยาของพื้นที่ที่แหล่งน้ำนั้นไหลผ่านอีกด้วยโดยน้ำที่ไหลผ่านพื้นที่หิน แกรนิตมักจะมีค่าการนำไฟฟ้าต่ำ เพราะว่าหินแกรนิตประกอบด้วยสารที่ไม่แตกตัวเป็นไอออนและน้ำที่ไหลผ่านชั้น ดินจะมีการนำไฟฟ้าที่สูงเพราะว่ามีสารประกอบที่แตกตัวเป็นไอออน
น้ำทิ้งที่ถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำอาจส่งผลต่อค่าการนำไฟฟ้าทั้งนี้ขึ้นอยู่ กับส่วนประกอบของน้ำทิ้งนั้น ความล้มเหลวของการจัดการระบบท่อน้ำทิ้งจะส่งผลให้การนำไฟฟ้ามีค่าสูงเนื่อง จากในน้ำทิ้งมีคลอไรด์ ฟอสเฟต และไนเตรต ส่วนการปนเปื้อนของน้ำมันจะส่งผลให้การนำไฟฟ้ามีค่าต่ำ
หน่วยพื้นฐานที่ใช้วัดการนำไฟฟ้า คือ โมห์ (mho) หรือ ซีเมนส์ (siemens) ค่าการนำไฟฟ้าวัดเป็นไมโครโมห์ต่อเซนติเมตร(µmhos/cm) หรือ โมโครซีเมนส์ต่อเซนติเมตร (µs/cm) น้ำกลั่นมีค่าการนำไฟฟ้าอยู่ระหว่าง 0.5 – 3 µmhos/cm แม่น้ำในประเทศสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่มีค่าการนำไฟฟ้าอยู่ระหว่าง 50 – 1,500 µmhos/cmจากผลการศึกษาแหล่งน้ำจืดในประเทศสหรัฐอเมริกาแสดงให้เห็นว่าแม่น้ำ ที่มีค่าการนำไฟฟ้าอยู่ระหว่าง150 – 500 µmhos/cm จะเป็นประโยชน์ต่อการทำประมงแม่น้ำที่มีค่าการนำไฟฟ้าไม่อยู่ในช่วงดังกล่าว ไม่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของปลาบางสายพันธุ์หรือสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ขนาดใหญ่ สำหรับน้ำอุตสาหกรรมนั้นอาจมีค่าการนำไฟฟ้าสูงได้ถึง10,000 µmhos/cm

ส่วนวิชาการคุณภาพน้ำกองแผนคุณภาพน้ำ ฝ่ายคุณภาพน้ำ การประปานครหลวง
ที่มา: United States EnvironmentalProtection Agency
(EPA)http://water.epa.gov/type/rsl/monitoring/vms59.cfm

Showing all 2 results