เครื่องวัดความสั่นสะเทือน

เครื่องวัดแรงสั่นสะเทือน Vibration Meter ความสั่นสะเทือนสะเทือน
Vibration Meter,วัดการกระจัด Displacement,ความเร็ว Velocity,ความเร่ง Acceleration,เครื่องวัดแรงสั่นสะเทือน,Vibration Meter,การเคลื่อนที่ Displacement,ความเร็ว Velocity,อัตราเร่ง Acceleration, เครื่องวัดแรงสั่นสะเทือน,Vibration Meter,วัดการกระจัด Displacement,ความเร็ว Velocity,ความเร่ง Acceleration เครื่องวัดความสั่นสะเทือน (Vibration Meter) เป็นเครื่องมือสำหรับใช้ตรวจวัดและทดสอบ การเคลื่อนที่ (Displacement), ความเร็ว (Velocity) และอัตราเร่ง (Acceleration)
ความรู้พื้นฐานเครื่องวัดความสั่นสะเทือน Basic of Vibration
การสั่นสะเทือน (Vibration) การสั่นสะเทือน คือ การเคลื่อนที่ของวัตถุในทิศทางซ้ำๆ เช่น จากข้างหน้าไปข้างหลัง จากซ้ายไปขวาหรือจากบนลงล่างยกตัวอย่างตุ้มน้ำหนักและสปริงเมื่อดึงตุ้ม น้ำหนักลงและปล่อยทิศทางการเคลื่อนที่จะเป็นแบบขึ้นและ ลงซ้ำไปซ้ำมา การเคลื่อนที่ดังกล่าวจะทำให้เกิด Waveform (ดังภาพ)

พื้นฐานการวัดแรงสั่นสะเทือน จะต้องทำความรู้จักกับ องค์ประกอบ 4 ตัว ดังนี้

1. ความถี่ (Frequency)
คือ ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนรอบของการเคลื่อนที่หรือรอบของการหมุนต่อหน่วยเวลา รอบต่อวินาที จากตัวอย่างข้างต้นถ้าหากเพลาหมุนด้วยความเร็ว 1,200 รอบต่อนาที (rpm) ความถี่ในการหมุนก็จะเท่ากับ 1,200/60 = 20 รอบต่อวินาทีหรือ 20 Hz

2. การวัดระยะทางของการสั่นสะเทือน (Displacement)
คือ การวัดระยะทางการเคลื่อนที่ของวัตถุที่มีการสั่นสะเทือนว่า “มีการเคลื่อนที่ไปจากจุดอ้างอิงเท่าใดในการสั่นสะเทือนแต่ละรอบ”โดยปกติจะ นิยมวัดเป็นมิลลิเมตร (mm) หรือ นิ้วในการวัดระยะทางจะวัดแบบ PEAK ส่วนมากจะใช้กับการเคลื่อนที่ที่มีความเร็วรอบต่ำๆ ความถี่ออยู่ในช่วง 10Hz – 150Hz เช่น การสั่นสะเทือนของท่อ การวัดแรงสั่นสะเทือนบนพื้น

3. การวัดความเร็ว (Velocity)
เป็น การวัดความเร็วในการเคลื่อนที่ของวัตถุที่สั่นสะเทือนว่า “มีความเร็วเท่าไหร่ในแต่ละรอบของการสั่นสะเทือน ”โดยปกตินิยมวัดเป็นมิลลิเมตร/วินาที (mm/s) และนิ้ว/วินาที (inch/sec) ในการวัดความเร็วเรามักจะวัดแบบ RMS เราจะใช้หน่วยนี้กับการ วัดการสั่นสะเทือน ที่มีความถี่ระหว่าง 10Hz -1,000Hz เช่น การเยื้องศูนย์ (Misalignment) ความไม่สมดุล (Unbalance)

4. การวัดอัตราเร่ง (Acceleration)
เป็น การวัด“การเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนของความเร็วในการเคลื่อนที่ต่อหน่วยเวลาของ วัตถุที่มีเป็นการวัด“การเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนของความเร็วในการเคลื่อนที่ ต่อหน่วยเวลาของวัตถุที่มีการสั่นสะเทือน”ใช้ในการใช้ในการวัด การสั่นสะเทือน ที่ความถี่สูงคือ ตั้งแต่ 1,000 Hz ขึ้นไปเพราะว่าการสั่นสะเทือนที่ความถี่สูงนั้นระยะทาง การเคลื่อนที่จะน้อยและ ในขณะเดียวกันความเร็วในการเคลื่อนที่จะสูงมาก เช่น การวัดความสั่นสะเทือนของ Bearing

หากเทียบหน่วยในการวัดความสั่นสะเทือน กับการรับรู้ของมนุษย์ สามารถเปรียบเทียบกันได้ ดังนี้
• Displacement สามารถรับรู้จากการมองเห็น เช่น การสั่นของท่อ
• Velocity สามารถรับรู้จากการสัมผัส การเคลื่อนที่ของวัตถุเริ่มเร็วมากขึ้น เช่น การสั่นสะเทือนของเครื่องจักร
• Acceleration สามารถรับรู้จากการฟัง ความสั่นสะเทือนเกิดจากความถี่สูง ทำให้เกิดเสียง เช่น การสึกกร่อนของ Bearing

โดย ทั่วไปการทดสอบการสั่นสะเทือนจะดำเนินการตรวจสอบการตอบสนองของผลิตภัณฑ์ภาย ใต้สภาวะที่เกิดการสั่นสะเทือน เพื่อตรวจสอบว่าสินค้าไม่กระทบกระเทือนในระหว่างการขนส่ง หรือทหสอบเครื่องจักรที่กำลังทำงาน ว่าสามารถทนต่อการกระแทกได้ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไข และป้องกันต่อไป

Showing 1–12 of 23 results